24 เมษายน 2024

หลักธรรมกับการดำรงชีวิต และการนำมาปฏิบัติ

การนำหลักธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์

หลักธรรมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมีดังนี้

1. เว้นจากการทำชั่วและมุ่งทำความดี ทุกศาสนาสอนให้ละเว้นการกระทำความชั่วและทำแต่ความดีทั้งสิ้น เพื่อให้ศาสนิกชนทั้งหลายเป็นคนดีนั่นเอง ถึงแม้แนวทางปฏิบัติของแต่ละศาสนาอาจมีข้อแตกต่างกันไป เช่น พระพุทธศาสนามีศีล คือ ข้อห้าม และธรรมะ คือหลักสำหรับเป็นข้อปฏิบัติ ศาสนาคริสต์มีบัญญัติ 10 ประการ ศาสนาอิสลามสอนให้ยึดหลักศรัทธา 6 ประการ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ เป็นต้น

2. ความรัก ความเมตตา แต่ละศาสนากล่าวถึงความรักความเมตตาไว้มากมายทั้งหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ และคำสอนแทรกไว้ในแต่ละตอนของคำสอนนั้นๆ บางครั้งก็มีคำสอนทำนองภาษิตเตือนใจ เช่น พระพุทธศาสนามีคติธรรมที่ยึดถือ เช่น เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลกและพึงเอาชนะความชั่วด้วยความดี ในศาสนาคริสต์พระเยซูทรงสอนว่า จงรักพระเจ้าอย่างสุดใจสุดความคิด และสุดกำลัง และจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง ศาสนาอิสลาม ศาสดามูฮัมหมัดก็ทรงกล่าว ผู้ใดขาดความเมตตาเพื่อนมนุษย์ผู้นั้นไม่ได้รับเมตตาจิตเช่นกัน ดังนั้นทุกศาสนาจึงเน้นเรื่องความรัก ความเมตตา เพราะหากมนุษย์ทุกคนมีความรักความเมตตาอยู่ในใจแล้ว ก็จะไม่มีการเบียดเบียนกัน ต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

3. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ เมื่อมนุษย์มีความรักความเมตตาแล้ว ก็จะมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้การสงเคราะห์ซึงกันและกัน ศาสนาต่างๆ จึงสอนให้สงเคราะห์กันด้วยความเมตตากรุณาไม่ใช่หวังผลตอบแทน แต่เน้นการเสียสละด้วยความบริสุทธิ์ใจ เช่น พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 ซึ่งได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามได้มีการกำหนดหลักการให้ชาวมุสลิมมีการบริจาคทาน (ซากาด) แก่ผู้ยากจนหรือสมควรได้รับความช่วยเหลือในอัตราร้อยละ 2.5 ของรายได้ ศาสนาคริสต์จะเน้นให้มนุษย์เสียสละ ให้อภัย เอื้อเฟื้อ โดยไม่หวังผลตอบแทน

4. ความอุตสาหะและพัฒนาตนเอง ศาสนาต่างๆ สอนให้คนมีความเพียร อดทน ขยันขันแข็ง และมีความอุตสาหะ มีความพยายาม อันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จและรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น พระพุทธศาสนาสอนให้คนเคารพในการศึกษา สรรเสริญความเจริญก้าวหน้า มีหลักคำสอน อิทธิบาท 4 อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีคติเตือนใจ เช่น ความเพียรอยู่ในความสำเร็จอยู่ที่นั่น ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตายและมีคำสอนว่า ผู้ใดมีความพยายาม ผู้นั้นจะได้รับผลสำเร็จ หรือคำสอนในศาสนาคริสต์ก็มีกล่าวไว้ว่า เราทั้งหลายภูมิใจความยากลำบาก เพราะรู้ว่าความยากลำบากนั้นทำให้เกิดความอดทนและความอดทนนั้นทำให้เกิดอุปนิสัยที่ดี เป็นต้น

5. ความยุติธรรม คำสอนทุกศาสนาเน้นเรื่องความยุติธรรม เพราะการที่สังคมจะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุขนั้น จำเป็นต้องมีหลักแห่งความยุติธรรมเป็นแกนกลาง พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้อยู่ภายใต้อคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ศาสนาคริสต์มุ่งเน้นในการรักษาความยุติธรรมในสังคมว่า เจ้าทั้งหลายอย่าเห็นแก่หน้าผู้ใดในการพิพากษา จงฟังท่าน ผู้ใหญ่ ผู้น้อย เหมือนกัน เจ้าทั้งหลายอย่ากลัวผู้ใด เพราะการพิพากษานั้นเป็นการตัดสินของพระเจ้า หรือศาสนาอิสลามสอนให้คำรงความยุติธรรม แม้จะกระทบกระเทือนต่อตัวเจ้าของ ต่อมารดา บิดาหรือญาติ ไม่ว่าเขาจะเป็นคนมีหรือคนจน และอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรม เป็นต้น

หลักธรรมที่พึ่งนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันควรดำเนินการดังนี้
1.ฝึกการใฝ่หาความรู้ แบ่งออกได้เป็น 2 ทางคือ

การศึกษาทางโลกหมายถึง การศึกษาเล่าเรียนวิชาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำมาหากิน หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการทำการงานทางโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาชั่วระยะเวลาหนึ่ง การศึกษาทางโลกหรือการทำการงานทางโลก เป็นการกระทำที่ไม่มีวันสิ้นสุด ทำแล้วทำอีก หมดรุ่นนี้เดี๋ยวก็มีรุ่นใหม่มาให้ทำ เหมือนระลอกคลื่นที่เกิดขึ้น คลื่นลูกใหม่จะเกิดขึ้นไล่คลื่นลูกเก่าให้กระทบฝั่งไป เกิดอยู่เช่นนี้เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป เรียกว่าโลกิยะวิสัย ซึ่งไม่เคยมอบความสำเร็จให้แก่ใคร ใครที่ยังมั่วสุมอยู่กับการงานทางโลกหรือการศึกษาทางโลก จึงไม่มีวันเสร็จงานหรือเสร็จการศึกษา

การศึกษาทางธรรม หมายถึง การงานทางธรรม ทำเสร็จแล้วไม่ต้องทำอีก ไม่ต้องศึกษาอีก ได้เป็นอเสกขะบุคคลแล้ว คือบรรลุนิพพานแล้ว ไม่ต้องศึกษาขวนขวายอะไรอีก มีแต่ทรงไว้และสงเคราะห์ แต่เสวยสุขซึ่งเป็นผลของการศึกษาทางธรรมไปเรื่อยๆ เมื่อหมดอายุขัยทางโลกแล้ว จิตวิญญาณดวงนั้นก็จะเสวยสุขหลุดพ้นอยู่แดนนิพพานตลอดไป

2.ฝึกบังคับตนเองไม่ทำความชั่วทั้งปวง การไม่ทำความชั่วทั้งปวงได้แก่

2.1 การไม่ทำความชั่วทางกาย ได้แก่ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ลักขโมย ไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น

2.2 การไม่ทำความชั่วทางวาจา ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดหลอกลวง ไม่พูดคำหยาบ

2.3 การไม่ทำความชั่วทางใจ ได้แก่ ไม่คิดโลภ ไม่คิดพยาบาท ไม่เห็นผิดเป็นชอบ

3. ฝึกการทำความดี การกระทำความดี 3 ทางคือ

3.1การทำความดีทางกาย ได้แก่ มีเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น

3.2 การทำความดีทางวาจา ได้แก่ พูดแต่ความจริง พูดแต่คำสุขภาพอ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบคาย

3.3 การทำความดีทางใจ ได้แก่ พอใจแต่สิ่งที่ได้มาโดยชอบ

4.การฝึกจิตให้บริสุทธิ์ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้สะอาดหมดจดจากสิ่งอันเป็นเครื่องเศร้าหมองที่เรียกว่า กิเลส

กิเลส เป็นภาบาลี แปลว่า เศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ซึ่งสาเหตุหรือต้นตอของกิเลสก็คือ อวิชชา ที่แปลว่าสภาพที่ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง ความไม่รู้นี้เป็นเหตุให้เศร้าหมอง กิเลสจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ โลภะ โทสะ โทสะ และโมหะ รวมเรียกว่า อกุศลมูล ลักษณะที่เรียกว่า โลภะ เช่น ความโลภ อยากได้ในทางทุจริต การกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตนโดยไม่คำนึงถึงกรรมสิทธิ์และจิตใจของผู้อื่น การอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น

ลักษณะที่เรียกว่า โทสะ เช่น ความโกรธ เคียดแค้น อาฆาตพยาบาท คิดประทุษร้าย เป็นต้น ลักษณะที่เรียกว่า โมหะ เช่น ความลังเลสงสัย ความประมาท ความหดหู่ท้อแท้เซื่องซึม ความเห็นผิดเป็นชอบ เป็นต้น

วิธีการทำจิตใจให้บริสุทธิ์

การทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั้นมีหลายระดับขั้น ขั้นแรก คือ การฝึกใจให้บรรเทาเบาบางจากสิ่งอันเป็นกิเลสต่างๆ เช่น ความโลภอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน ความโกรธ เป็นต้น เมื่อทำได้แล้วก็พยายามทำในสิ่งที่ละเอียดยิ่งขึ้น กล่าวคือ พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว หรือเกิดกังวล การจะทำเช่นนี้ได้ก็ด้วยการบำเพ็ญกุศล รักษาศีล และแผ่เมตตา ต่อไปก็เป็นขั้นสูง คือ การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยการปฏิบัติธรรมคือการเจริญภาวนา อันเป็นการฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เกิดวิชชา ซึ่งหมายถึงสภาพอันเป็นความรู้อันถูกต้อง เมื่อเกิดวิชชา สิ่งต่างๆ ก็จะเป็นไปในทางสะอาด สว่าง สงบ ในที่สุดจะสามารถละกิเลสได้ตามผลแห่งการปฏิบัตินั้นๆ และเมื่อละกิเลสได้แล้ว จิตใจก็จะสะอาดบริสุทธิ์

ความมีวินัยเป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมให้บคุคลปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงทางสังคมเป็นผลให้สะดวกแก่การปกครอง วินัยมี 2 ลักษณะ

วินัยทางโลก หมายถึงระเบียบสำหรรับควบคุมคนในสังคมแต่ละแห่งเป็นข้อตกลงของคนในสังคมนั้นที่จะให้ทำหรือไม่ให้ทำบางสิ่งบางอย่างซึ่งบางครั้งเราก็เรียกชื่อแยกแยะออกไปหลายอย่าง เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎข้อบังคับ ระเบียบ ธรรมเนียมประเพณี คำสั่ง ประกาศ กติกา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้รวมเรียกว่า วินัยทางโลกทั้งสิ้น

วินัยทางธรรม เนื่องจากเราชาวพุทธ มีทั้งคฤหัสถ์และบรรชิต ดังนั้นวินัยทางศาสนาจึงมี 2 ประเภท คือ

  1. 1. อนาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ออกบวช ได้แก่ วินัยของพระภิกษุ
  2. 2. อาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ครองเรือน หรือประชาชนชายหญิงทั่ว ๆ ไป

ความกตัญญูกตเวที

กตัญญูหมายถึง บุคคลผู้รู้คุณของคนอื่น กตเวที หมายถึง บุคคลที่ตอบแทนผู้มีคุณแก่ตน ดังนั้น คำว่า กตัญญูกตเวที จึงหมายถึง บุคคลผู้รู้คุณที่คนอื่นกระทำแล้วและทำตอบแทน

บุคคลที่มีคุณและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เรานั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ เป็นต้น พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก เลี้ยงดู ป้องกันและรักษา พ่อแม่ที่เป็นพ่อแม่จริงๆ เมื่อให้กำเนิดลูกแล้วจะไม่ทอดทิ้ง ถึงแม้จะประสบความลำบากยากจน ลำเค็ญสักเพียงใดก็ตาม ก็จะไม่ทอดทิ้งลูก กลับคอยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้เกิดแก่ลูก เมื่อมีเหตุสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ เช่น ต้องประสบภัยคือความเจ็บไข้ได้ป่วย พ่อแม่ก็ไม่ทอดทิ้งพยายามทำการรักษา พยาบาลด้วยตัวเองบ้าง หาหมอมารักษาบ้าง บางครั้งพ่อแม่ต้องทำงานหนัก อาบเหงื่อต่างน้ำ ยอมอด ยอมทนเพื่อลูก ต้องการให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน มีความรู้ ความฉลาดเท่าทันคนอื่น

พ่อแม่ได้ทำการเลี้ยงดู จึงต้องเลี้ยงท่านตอบแทน ช่วยทำการงานของท่าน รักษาวงศ์สกุลไว้ ประพฤติตนให้เป็นผู้ควรรับมรดก เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ควรทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ ดังนั้น พ่อแม่จึงเป็นผู้มีคุณแก่ลูกทั้งหลาย

ครูอาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นระดับไหน ชั้นไหนก็ตาม เรียกว่าท่านสอนให้เรามีความรู้ ความสามารถ ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม นำคุณธรรมและจริยธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือป้องกันตัวเอง นำความรู้ความสามารถไปใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพการงาน ครูอาจารย์นับได้ว่า เป็นครูคนที่สองรองจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ได้ทำการอบรมสั่งสอน จึงต้องทำการต้อนรับด้วยความเต็มใจ เมื่ออยู่ร่วมกับท่าน ต้องเข้าไปคอยอุปัฏฐากรับใช้ เมื่อไม่ได้รับใช้ใกล้ชิดท่าน เวลาท่านมีกิจเรียกใช้ ก็ยินดีรับใช้ เชื่อฟังคำสอนของท่านและตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น ครูอาจารย์จึงเป็นผู้มีคุณแก่ศิษย์ทั้งหลาย พระมหากษัตริย์หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ผู้ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์องค์ก่อนๆ ซึ่งได้รักษาเอกราชของประเทศมา ไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น มอบมรดกคือเอกราชและอธิปไตยไว้ให้แก่พวกเรา แม้ทุกวันนี้พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชนชาติไทย ทรงสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อความสุขของพสกนิกร โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ แม้จะอยู่ในถิ่นทุรกันดารไกลแสนไกลเพียงใด พระองค์ก็เสด็จไปบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ช่วยเหลือและให้กำลังใจเสมอ

ความมัธยัสถ์

มัธยัสฺถ์ แปลว่า ปานกลาง ตั้งอยู่ในท่ามกลาง หมายความว่า ไม่ทำอะไรเกินพอดี ไม่ใช้จ่ายเกินพอดี แต่ก็ไม่ให้ขัดสน ไม่ให้แร้นแค้น ไม่ให้ขาดแคลนจนเกินไป ความมัธยัสถ์ที่เกี่ยวกับการใช้จ่าย จึงหมายถึงการใช้จ่ายอย่างพอเหมาะพอดี บรรดาสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มตลอดจนอาหารการกินทุกอย่างย่อมมีสิ่งที่ดีมากน้อยต่างหัน มีราคาถูกแพงต่างกัน ถ้าเรารู้จักเลือกซื้อของใช้ของกินที่มีราคาพอเหมาะกับฐานะ พอเหมาะกับการใช้งาน ไม่ฟุ้งเฟ้อใช้สิ่งที่แพงเกินไป ก็เรียกว่ารู้จักมัธยัสถ์ ความมัธยัสถ์ช่วยให้คนดำรงชีวิตอยู่ได้ในความพอดี ซึ่งเป็นวิถีทางที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขอย่างยั่งยืน

ความมีวิจารณญาณในกรตัดสินปัญหาต่าง ๆ วิจารณญาณแปลว่า ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณ หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง การพัฒนาความมีหุตมีผลจะต้องมรคุณสมบัติ 7 ประการซึ่งเรียกว่าสัปปุริสธรรม มีดังนี้

1) อัตถัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของชีวิต

2) ธัมมัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาระและผลอันเกิดจากสาเหตุดังกล่าว

3)อัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์ตนเองทั้งในด้านความรู้ คุณธรรม และความสามารถ

4) มัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักหลักของความพอดี การดำเนินชีวิตพอเหมาะพอควร

5) กาลัญญุตา คือ ความเป็นรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ

6) ปริสัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้ปฏิบัติ การปรับตนและแก้ไขตนให้เหมาะกับสภาพของกลุ่มและชุมชน

7) ปุคคลัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

หลักธรรมที่ทำให้มนุษย์สัมพันธ์ยั่งยืนพุทธธรรมที่เป็นหลักและก่อให้เกิดมนุษย์สัมพันธ์โดยตรงมีอยู่มากมายที่สำคัญๆ ได้แก่

อิทธิบาทสี่ ธรรมแห่งความสำเร็จในการทำงาน มี 4 ประการ คือ

1. ฉันทะ ได้แก่ ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำอยู่บุคคลควรรักงานรักเพื่อนร่วมงาน รักหมู่คณะ และสถาบัน เมื่อบุคคลมีความพอใจมีความรักในสิ่งที่ตนทำ สิ่งต่างๆที่ตนแสดงพฤติกรรมออกมาก็จะดีด้วย มนุษย์ควรให้ความรักแก่กัน ตั้งแต่รักกันภายในครอบครัว รักกันในกลุ่มงานและสังคม

2. วิริยะ ได้แก่ ความเพียรพยายามการมีความขยัน อดทนมีมานะ บากบั่นจนประสบผลสำเร็จ ดังสุภาษิตที่ว่า มีความพยายามที่ไหนที่นั่นย่อมประสบความสำเร็จ เช่น ต้องการเรียนเก่ง นักศึกษาก็ต้องหมั่นท่องอ่านทำรายงาน ทำแบบฝึกหัด รับผิดชอบต่อการเรียนมีวินัย ความพยายามจะทำให้นักศึกษาสอบได้ดี

3. จิตตะ ได้แก่ ความตั้งใจ การฝักใฝ่อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงานเอาใจใส่ต่องานที่ทำ มีความตั้งใจว่าจะทำทุกอย่างให้ดี ทำให้ได้ มีเจตนาแน่วแน่ทุกอย่างย่อมสำเร็จ

4. วิมังสา ได้แก่ ความสุขุม รอบคอบพินิจพิจารณาสิ่งที่ทำด้วยปัญญา มีการตรวจตราอยู่สม่ำเสมอ เหมือนที่กล่าวว่ามีความฉลาดอย่าขาดเฉลียว หมายถึงการทำการใดๆ ให้รอบคอบมีความละเอียดลออในงานที่เราได้กระทำ

สังคหวัตถุ 4หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1 . ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4 . สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

พรหมวิหาร 4เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ

1.ทาน การให้ปันสิ่งของของตนแก่คนอื่น

2. ปิยวาจา การเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน

3.อัตถจริยา คือการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

4.สมานัตตา ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ วางตนเหมาะสม ไม่ถือตัว ไม่ดูหมิ่นดูแคลนกัน

ฆราวาสธรรม4 คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ

1. สัจจะ หมายถึง ความซื่อตรงจริงใจ พูดจริงทำจริง ผู้ที่มีสัจจะนั้นจะเป็นหลักประกันแห่งเกียรติคุณ มีคนเชื่อถือ และเป็นที่ไว้ใจของทุกคน

2. ทมะ หมายถึง การฝึกฝนตนเอง ควบคุมจิตใจด้วยการใช้ปัญญา จะทำให้ชีวิตก้าวหน้าประสบความสำเร็จ ทำอะไรเกิดความผิดพลาดน้อยมาก

3. ขันติ หมายถึง ความอดทนอดกลั้น มีหลายประการ เช่น ความอดทนต่อความยากลำบาก ความอดทนต่อความเจ็บปวด ความอดทนต่อความโกรธความผูก พยาบาท ความอดทนต่ออำนาจกิเลส เป็นต้น ผู้ที่มีขันตินั้นจะเป็นเครื่องประกันฐานะทางสังคมได้อย่างดี และจะเป็นผู้ที่มีความอดทนไม่เกิดความท้อแท้โดยง่าย

4.จาคะ หมายถึง ความเสียสละ ความแบ่งปัน การมีน้ำใจ เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ผู้ที่มีจาคะนั้นจะเกิดความสัมพันธ์อันดีในสังคมได้

กัลยาณมิตตา หมายถึงเพื่อนที่ดีตามความหมายทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มีความตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ทำหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ผู้สั่งสอนแนะนำ ชักนำไปในหนทางที่ถูกต้องดีงามคุณสมบัติของกัลยาณมิตร 7 ประการ

1. น่ารัก
2. น่าเคารพ
3. น่าเทิดทูน
4. ฉลาดพูด แนะนำ ตักเตือน
5. อดทนต่อถ้อยคำ
6. แถลงเรื่องที่ลึกล้ำได้

หิริโอตตัปปะ

1.หิริ คือ ความละอายบาป เป็นความรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรกจะทำให้ใจของเราเศร้าหมอง จึงไม่ยอมทำบาป

2.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป

ขันติโสรัจจะ

1.ขันติ แปลว่า ความอดทน หมายถึง ความสามารถที่จะทนต่อความลำบาก มีจิตใจเข้มแข็งที่จะทำความดี และสามารถควบคุมตนเองได้

2.โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยงดงาม ความประณีตความเรียบร้อยรวมถึงความไม่หรูหรา

ขันติ โสรัจจะ เป็นธรรมสองข้อที่ไปด้วยกันเมื่อแปลจะได้ความหมาย ธรรมอันทำให้งาม

สัปปุริสธรรม7ธรรม ที่ทำให้คนเป็นสัปบุรุษ หรือ เป็นคนดี มี 7 ประการ คือ

1. ธัมมัญญุตา ( การรู้จักเหตุ ) คือ การรู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของชีวิตหรือรู้จักหลักความจริง จะคิด จะทำอะไรก็มีหลัก รู้ว่าเมื่อกระทำสิ่งนี้จะได้ผลตอบแทนเป็นความสุข แต่ถ้ากระทำอีกอย่างหนึ่งจะได้ผลเป้นความทุกข์ เช่น ถ้าหมั่นขยันศึกษาเล่าเรียนก็จะได้รับความความรู้ความเข้าใจวิชาการต่างๆ เมื่อถึงเวลาสอบก็จะสามารถสอบได้คะแนนดี เป็นต้น

2. อัตถัญญุตา ( การรู้จักผล ) หมายถึง เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล เมื่อมีปัญหาอันใดเกิดขึ้นเราจะต้องใช้หลักเหตุผลมาพิจารณาปัญหาเหล่านั้น เพราะผลเกิดจากเหตุเสมอ การรู้จักเปรียบเทียบเหตุและผล จะทำให้เราเป็นคนใจกว้างยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น

3. อัตตัญญุตา ( การรู้จักตน ) ความเป็นผู้รู้จักตน คือรู้จักตนเองโดยฐานะ ภาวะ เพศ วัย ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมอื่นๆ มีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น แล้วประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ภาวะของตน และเมื่อรู้ว่า บกพร่องในเรื่องใด ก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

4. มัตตัญญุตา ( การรู้จักประมาณ ) หมายถึง ความพอดี ความพอเหมาะพอสมควรการรู้จักประมาณ คือการร้จักทำทุกสิ่งทุกอย่างหรือดำเนินชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เป็นต้น การ รู้จักประมาณนี้เป็นทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บุคคลต่างๆ ได้ประพฤติปฏิบัติกันมา

5. กาลัญญุตา ( การรู้จักกาล ) หมายถึง การรู้จักเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆ และรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกับกาลเทศะ กล่าวคือ รู้ว่าในเวลาเช่นไรควรจะทำอะไร การรู้จักกาลเวลาจะทำให้ไม่ดำรงตนอยู่ในความประมาณ ไม่ทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

6. ปริสัญญุตา ( การรู้จักชุมชน ) คือ การรู้จักหมู่คณะหรือกลุ่มชนว่าดีหรือไม่ดีควรคบหาสมาคม ควรเข้าไปอยู่เป็นพวกหรือไม่ เมื่ออยู่ในชุมชนหรือที่ประชุมนั้นๆ ควรว่างตัวอย่างไรควรทำอะไร ควรพูดอย่างไร เช่น เมื่อเข้าหาผู้ใหญ่ควรแสดงอาการนอบน้อมมีสัมมาคารวะ เมื่อเข้าวัดควรสำรวม กาย วาจา ใจ ไม่แสดงอาการตลกคึกคะนอง เป็นต้น ความเป็นผู้รู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชนและสังคม รู้กริยาที่จะพึงประพฤติ แล้วประพฤติตนให้เหมาสมต่อชุมชนและสังคมนั้นๆ

7. ปุคคลปรโรปรัญุตา คือการเป็นผู้รู้เลือกคน

สาราณียกรรม6หลักแห่งความสามัคคี ประกอบด้วย

1. เมตตามโนกรรม หมายถึง การคิดดี การมองกันในแง่ดี มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน รักและเมตตาต่อกัน คิดแต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้อภัยต่อกันและกันกันอยู่เสมอ

2. เมตตาวจีกรรม หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี รู้จักการพูดให้กำลังใจกันและกัน ในยามที่มีใครต้องพบกับความทุกความผิดหวังหรือความเศ ร้าหมองต่างๆ โดยที่ไม่พูดจาซ้ำเติมกันในยามที่มีใครต้องหกล้มลง ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ พูดอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ไม่โกหกมดเท็จ

3. เมตตากายกรรม หมายถึง การทำความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือกันทางด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกัน ให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันอยู่ตลอดเวลา

4. สาธารณโภคี หมายถึง การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

5. สีลสามัญญตา หมายถึง การปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่างๆอย่าง เดียวกัน เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใดๆทั้งปวง

6. ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง มีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน ปรับมุมมองให้ตรงกัน รู้จักแสงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง ของกันและกัน ไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ

ความคิดเห็น