3 พฤศจิกายน 2024

บทสวดมนต์รัตนสูตร

บทสวดรัตนสูตร

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจะ สุณันตุ ภาสิตัง ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะตัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

(คำแปล)

เหล่าภูตทั้งหลาย ทั้งที่อยู่ ณ ภาคพื้นก็ดี ทั้งที่อยู่ในอากาศก็ดี ที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้ก็ดี
ขอหมู่ภูตทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดีเถิด
และเชิญฟังคำสดุดีพระรัตนตรัย อันข้าพเจ้ากล่าว โดยเคารพเถิด

ดูก่อนภูตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า
ขอท่านทั้งหลาย จงกระทำเมตตาจิต ในประชาชาวมนุษย์เถิด
ซึ่งเขาทั้งหลาย ทำเทวตาพลีอยู่ ทั้งกลางวันกลางคืน
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยคุ้มครองรักษาเขาเหล่านั้นด้วยเถิด

ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
หรือรัตนะอันใดอันสูงค่า ในสรวงสวรรค์
ทรัพย์หรือรัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า ไม่มีเลย
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

พระศากยมุนีเจ้า ทรงมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด เป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง
สิ่งใดๆที่เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทรงสรรเสริญสมาธิว่าเป็นธรรมอันสะอาด
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่าสมาธิเป็นคุณธรรมอันให้ผลโดยลำดับสม่ำเสมอ
คุณธรรมอื่น ที่เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระธรรม
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

บุคคลเหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น 8
นับเป็นคู่ได้ 4 คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
บุคคลเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
ทานทั้งหลาย ที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก
ข้อนี้ จัดเป็นรัตนะคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด

บทสวดรัตนสูตร หรือ บทสวดเจ็ดตำนาน

บทสวด “รัตนสูตร” เป็นบทสวดที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศเพื่อขจัดปัดเป่าภัยความอดอยาก ภัยจากโรคระบาด และภัยจากอมนุษย์เบียดเบียน ชาวพุทธจึงถือเป็นธรรมเนียมสวดพระสูตรนี้เพื่อขจัดโรคภัยเช่นโรคห่า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า การสาธยายรัตนสูตร หรือรัตนปริตรจะทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตรายทั้งหลาย


ตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพุทธกาล กรุงเวสาลีเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายเกลื่อนกลาด ชาวเมืองมากมายล้มตายเพราะความอดอยากและโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาด ต้องนำศพมากมายไปทิ้งนอกเมือง ครั้นพวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร รบกวนมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ บรรดาเจ้าลิจฉวีจึงตกลงให้เชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาโปรด

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงเขตแดนนครเวสาลี ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ซากศพทั้งปวงถูกน้ำลงสู่แม่น้ำคงคาจนหมดสิ้น และเมื่อพระองค์เสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพและหมู่เทพก็เสด็จมา ยังผลให้อมุษย์ทั้งหลายต้องหลบลี้หนีไปจากเมืองเวสาลี


จากนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรียกพระอานนท์สั่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ 3 ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร พอพระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้นพวกอมนุษย์ทั้งหลายก็หลบหนีไปจนหมดสิ้น โรคภัยทั้งหลายก็หมดสิ้นไป

เนื้อหาของบทสวดรัตนสูตรนี้ โดยหลักเป็นการกล่าวถึงคุณแห่งพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยส่วนแรกเป็นการประกาศให้เหล่าภูตคุ้มครองรักษาพวกมนุษย์ที่นำเครื่องพลีกรรมมาบวงสรวงทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งพลีกรรมนี้หมายถึงการทำบุญตามหลักพุทธศาสนา ส่วนที่ 2 เป็นการบรรยายคุณพระรัตนตรัยว่าเป็นรัตนะอันประเสริฐสุด และส่วนที่ 3 เป็นการประกาศให้ภูตทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และอำนวยพรให้สรรพสัตว์เหล่านี้มีความสวัสดี

ความคิดเห็น